วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มะแขว่น สมุนไพรบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

ไม้ต้นนี้ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยพบขึ้นอยู่ตามป่าดิบบนพื้นที่ระดับต่ำไปจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร ในต่างประเทศพบที่ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย มีชื่อเรียกอีกคือ กำจัด, กำจัดต้น, มะข่วง, หมักขวง และพริกหอม




ประโยชน์ทางอาหาร ใบอ่อนกินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกปลาร้า ลาบ ก้อย ผลแห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศผสมกับลาบ หลู้ ยำต่างๆ และเป็นเครื่องแกงแค ใส่เป็น เครื่องผสมแกงอ่อมไก่ แกงอ่อมเนื้อ ดับกลิ่นคาวทำให้ มีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยมาก โดยเฉพาะหากใครเป็นช่างคนสังเกตและชอบรับประทานกุ้งอบวุ้นเส้น จะพบว่ามีเม็ดดำๆถูกใส่ผสมลงไปด้วย ซึ่งหลายคนมักจะเข้าใจว่าเป็นเม็ดพริกไทยดำ เพราะจะมีกลิ่นหอมและเผ็ดร้อนเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วคือเมล็ดแห้งของมะแขว่นชาวจีนนิยมใช้ปรุงอาหาร แทนพริกไทยดำอย่างกว้างขวาง นิยมเรียกในหมู่คนจีนว่า พริกหอม หรือ ชวงเจียว มีขายตามร้านเครื่องยาจีนทั่วไป ในประเทศมาเลเซีย อินเดีย และพม่า ใช้เมล็ดแห้งของมะแขว่นเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารอย่างแพร่ หลาย ชาวเขาบนดอยสูงของประเทศ ไทยจะรู้จักมะแขว่นเป็นอย่างดี


สรรพคุณทางสมุนไพร ใบ ขยี้อุดฟันแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน เมล็ดกินแก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับ ปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน รากกับเนื้อไม้ต้มน้ำดื่มขับลมในลำไส้ แก้ลมเบื้องบน หน้ามืดตาลาย วิงเวียน และขับระดู


มะแขว่น หรือ กำจัดต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ ZANTHOXYLUM LIMON-ELLA ALSTON, FAGARA RHETSA ROXB อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร มีหนามแหลมตามลำต้น กิ่งก้านใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่หรือคี่ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลมมาก โคนแหลมและเบี้ยว ขอบใบหยักมีต่อมกลมขนาดเล็กบริเวณหยัก ยอดอ่อนเป็นสีแดงปนเหลืองน่าชมมาก ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อขนาดใหญ่ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง และ ที่ปลายกิ่ง มีกลีบดอก 4 กลีบ เป็นสีนวล หรือ ขาวอมเขียว มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ ผลแห้งเป็นสีดำคล้ายพริกไทย มีกลิ่นหอมและเผ็ดร้อน ในภูมิภาคอินโดจีนนิยมเอาเปลือกต้นไปทำยาแก้ไข้และยาบำรุง จะติดผลแก่ช่วงฤดูหนาว ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขาย ที่โครงการ 21 แผงคุณพร้อมพันธุ์ราคาสอบถามกันเองครับ



ที่มา : คอลัมน์เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ โดย นายเกษตร นสพ. ไทยรัฐ




โรครำมะนาด(โรคปริทันต์)


โรคปริทันต์



โรคปริทันต์หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อโรครำมะนาด คือโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะปริทันต์หรือ
อวัยวะรอบๆฟันนั่นเอง โดยสามารถแบ่งได้ ตามความมากน้อยในการลุกลามของโรค เป็น 2 ระดับ คือ


1. โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) ซึ่งจะพบการอักเสบเฉพาะที่เหงือก


2. โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) ซึ่งจะพบการอักเสบของเหงือกร่วมไปกับการอักเสบของเอ็นยึดปริทันต์
เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน



สาเหตุของโรคปริทันต์
คือ การที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้มีคราบอาหารเกาะติดบนผิวฟันกลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นแผ่กระจายไปบนผิวฟันที่เราเรียกกันว่า คราบ
plaqueหรือแผ่นคราบจุลินทรีย์ โดยแบคทีเรียจะปล่อยกรดและสารพิษออกมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบผลคือทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบและมีเลือดออก ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ แผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีแค่ส่วนตัวฟันที่อยู่เหนือขอบเหงือกเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนใต้ขอบเหงือกที่เรามองไม่เห็นส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ลงสู่กระดูกเบ้าฟัน ผลคือทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ทำให้ร่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือกและก่อให้เกิดหนองอยู่ในร่องปริทันต์ จะรู้สึกเจ็บเหงือกและมีอาการปวดเมื่อเคาะที่ตัวฟัน ฟันอาจจะโยกได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายลงเรื่อยๆจนในที่สุดอาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป



อาการของโรคปริทันต์
-มีเลือดออกจากเหงือกขณะแปรงฟัน
-เหงือกมีสีแดงขึ้นและบวม
-ขอบเหงือกแยกจากตัวฟันไม่แนบ สนิทไปกับตัวฟัน
-มีกลิ่นปากมานานแล้วไม่หาย
-มีหนองไหลออกมาระหว่างเหงือกกับตัวฟัน
-ฟันมีการเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม จนสังเกตได้
-ฟันปลอมที่ใส่อยู่หลวมมากขึ้น



การป้องกันโรคปริทันต์
เราต้องทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอด้วยตนเอง อย่างน้อยจะต้องใช้แปรงและไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อที่จะกำจัดคราบจุลินทรีย์ให้หมดทุกวันรวมทั้งควรไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจดูว่ามีคราบจุลินทรีย์และหินปูนหลงเหลือจากการทำความสะอาดเองหรือไม่



การรักษาโรคปริทันต์
การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (
root planing) ร่วมด้วย โดยจะขูดหินปูนทั้งบนตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์ ส่วนการเกลารากฟันคือการทำให้ผิวรากฟันเรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องทำซ้ำหลายๆครั้ง หลังจากรักษาเสร็จแล้ว
ประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่าหายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ :
Periodontal Surgery) ร่วมด้วย การรักษาโรค เหงือกควรจะรีบทำการรักษาในทันทีที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคเหงือก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น หากพบอาการของโรคเหงือกควรเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อที่จะทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ เพราะหากปล่อยไว้ โรคเหงือกอาจทำให้สูญเสียฟันได้



ยาแก้โรคฟันเป็นรำมะนาด (สูตรโบราณ)


1.ท่านให้เอาเกลือทะเล การบูร เถาวัลย์ยอดด้วน ทั้งสามอย่างนี้นำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นลำมะนาด มีสรรพคุณแก้โรคลำมะนาดปวดฟันทุกชนิด
2.ท่านให้เอาเกลือ ๒ ส่วน การบูร ๑ ส่วน สารส้ม ๑ ส่วน นำมาตำผสมกันให้ละเอียด ใช้สีฟันหลังจากแปรงฟันเวลาเช้าทุกวันโรครำมะนาดจะหายขาด
3.ท่านให้เอา หัวกระเทียม ๑ กำมือกับเกลือ ๑ กำมือ นำมาตำผสมกันให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นรำมะนาดปวดฟัน ชั่วเวลาครู่เดียว อาการปวดฟันจะหายไปทันที
4.ท่านให้เอาเปลือกต้นข่อย กับเกลือทะเล สองอย่างนี้เอาอย่างละพอประมาณนำมาใส่หม้อดินต้มน้ำสามส่วน เคี่ยวให้เหลือ ๑ ส่วน บรรจุขวดเก็บไว้ ใช้อมเวลาเช้าทุกวัน มีสรรพคุณแก้โรครำมะนาดได้เป็นอย่างดี
5.ท่านให้เอารากต้นมะพลับ กับ รากต้นกล้วยตานี ตัวยาทั้ง ๒ นี้ เอาอย่างละเท่าๆกันนำมาเผาไฟให้ไหม้ดีแล้วเอาสารส้ม นำมาผสมกับยาทั้งสองอย่าง บดให้ละเอียด ผสมกับการบูรพอสมควรใช้สำลีชุบยาปิดบริเวณที่เป็นโรครำมะนาด โรครำมะนาดจะหายไป